วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ง่ายๆสำหรับเด็กที่กำลังจะถึง 1 ปี

ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ง่ายๆสำหรับเด็กที่กำลังจะถึง 1 ปี 
(Chapter 2)

   1.วงแหวนที่มีลักษณะพื้นผิวแตกต่างกัน อาจเป็น พลาสติกแข็ง , ยางนิ่ม หรือผ้า ฯลฯ
   เด็กวัยนี้มักนำของเล่นเข้าปาก ใช้ปากในการดูด อม เลีย ใช้เหงือกย้ำ กัดเล่น เพื่อฝึกความแข็งแรงของเหงือก และยังอาจสามารถลดอาการเจ็บขณะที่ฟันของเด็กวัยนี้กำลังขึ้นได้ โดยนำวงแหวนพลาสติกยางไปแช่ตู้เย็น ความเย็นจากยางจะลดอาการเจ็บได้ขณะที่เด็กกัดเล่น
   2. โมบายพวงวัสดุที่เป็นรูปสัตว์ หรือดอกไม้ ที่มีสีสันสดใส แขวนไว้ที่หัวเตียงหรือเปล ซึ่งอาจมีเสียงดนตรีประกอบด้วย เพื่อฝึกการใช้สายตาในการมองวัตถุขณะเคลื่อนไหว ขณะที่เด็กนอนเล่นอยู่บนเตียง แขวนโมบายอยู่เหนือศีรษะเด็กเพื่อให้เด็กได้ใช้สายตามองดูขณะของเล่นแกว่งไปมา เด็กจะสนใจมองดูการเคลื่อนไหวของวัตถุ และยังสามารถฝึกการฟังเสียงดนตรีของเครื่องเล่นอีกด้วย
   3. ตุ๊กตายางผิวหยาบหรือนิ่ม อาจทำจากผ้าหรือพลาสติกยางซึ่งอาจบีบมีเสียง / ไม่มีก็ได้ เพื่อฝึกคว้าจับและ สัมผัส โดยใช้ของเล่นที่มีพื้นผิวสัมผัสที่ต่างกัน เด็กวัยนี้ชอบจับสัมผัส ลูบ คลำ บีบเล่น หรือโยนเล่น กลิ้งเล่น และฝึกการฟังเสียง ต่างๆกันของของเล่นขณะบีบ เขย่า เคาะ ตลอดทั้งฝึกจับของเล่นเปลี่ยนมือได้อีกด้วย
   4.เครื่องเขย่าให้เกิดเสียงได้แก่ กรุ๋งกริ้ง ,กระดิ่ง ซึ่งอาจมีขนาดและน้ำหนักที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือในการจับและคว้าของเล่น ฝึกการฟังเสียงของของเล่นที่มีความแตกต่างกัน เด็กวัยนี้ชอบคว้า จับ เขย่า เคาะ ของเล่นเพื่อให้เกิดเสียงต่าง ๆ รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้เด็กได้สนใจมองขณะที่เด็กมีกิจกรรมในการจับเขย่า เคาะเล่นอีกด้วย
   5.กระจกเงา เพื่อฝึกการมองและการสังเกต การเคลื่อนไหวของหน้าตา และท่าทางขณะมองเล่นเด็กวัยนี้มักชอบมองเงาตัวเอง และสิ่งอื่น ๆ ในกระจก
   6. ของเล่นไขลาน เช่น ลูกเป็ด ลูกไก่ และอื่น ๆซึ่งอาจมีเสียงดนตรีประกอบ ขณะที่ของเล่นไขลานเคลื่อนไหว เด็กสนใจและมองตามการเคลื่อนไหวของของเล่นเหล่านั้น ตลอดทั้งกระตุ้นให้เด็กเกิดการเคลื่อนไหวตัวเองอีกด้วย เช่น เด็กอาจจะคืบ , คลาน หรือ เกาะเดิน , เหนี่ยวตัวลุกยืน เกาะยืน เพื่อให้ได้ของเล่นเหล่านั้น
   7. วัสดุรูปทรงเรขาคณิต อาจเป็นผ้า ,กล่องสีต่าง ๆ ,ก้อนไม้ หรือ ก้อนพลาสติกที่มีขนาดต่างกัน
เพื่อฝึกการสังเกตรูปร่าง รูปทรง และจับกำ ซึ่งภายในกล่องสีต่าง ๆ อาจใส่เม็ดถั่ว / เม็ดพลาสติก ไว้ข้างในได้ เมื่อเด็กเขย่า / เคาะ แล้วเกิดเสียง เพื่อกระตุ้นการฟัง และความสนใจของเด็กในขณะเล่น ของเล่นมากขึ้น
   8. หมุดหรือไม้สี ซึ่งมีขนาดใหญ่ อาจทำด้วยไม้หรือ พลาสติก พร้อมกระดานมีรู เพื่อเสริมสร้างการใช้ปลายนิ้ว ในการหยิบ หรือยัดนิ้วใส่ลงในรู หรือในช่องที่เจาะไว้บนกล่อง เด็กวัยนี้เริ่มใช้ปลายนิ้ว หยิบ หรือใช้นิ้วยัดใส่รู หรือช่องที่เจาะไว้


 ของเล่นเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น