วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ง่ายๆสำหรับเด็กที่กำลังจะถึง 1 ปี

ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ง่ายๆสำหรับเด็กที่กำลังจะถึง 1 ปี 
(Chapter 2)

   1.วงแหวนที่มีลักษณะพื้นผิวแตกต่างกัน อาจเป็น พลาสติกแข็ง , ยางนิ่ม หรือผ้า ฯลฯ
   เด็กวัยนี้มักนำของเล่นเข้าปาก ใช้ปากในการดูด อม เลีย ใช้เหงือกย้ำ กัดเล่น เพื่อฝึกความแข็งแรงของเหงือก และยังอาจสามารถลดอาการเจ็บขณะที่ฟันของเด็กวัยนี้กำลังขึ้นได้ โดยนำวงแหวนพลาสติกยางไปแช่ตู้เย็น ความเย็นจากยางจะลดอาการเจ็บได้ขณะที่เด็กกัดเล่น
   2. โมบายพวงวัสดุที่เป็นรูปสัตว์ หรือดอกไม้ ที่มีสีสันสดใส แขวนไว้ที่หัวเตียงหรือเปล ซึ่งอาจมีเสียงดนตรีประกอบด้วย เพื่อฝึกการใช้สายตาในการมองวัตถุขณะเคลื่อนไหว ขณะที่เด็กนอนเล่นอยู่บนเตียง แขวนโมบายอยู่เหนือศีรษะเด็กเพื่อให้เด็กได้ใช้สายตามองดูขณะของเล่นแกว่งไปมา เด็กจะสนใจมองดูการเคลื่อนไหวของวัตถุ และยังสามารถฝึกการฟังเสียงดนตรีของเครื่องเล่นอีกด้วย
   3. ตุ๊กตายางผิวหยาบหรือนิ่ม อาจทำจากผ้าหรือพลาสติกยางซึ่งอาจบีบมีเสียง / ไม่มีก็ได้ เพื่อฝึกคว้าจับและ สัมผัส โดยใช้ของเล่นที่มีพื้นผิวสัมผัสที่ต่างกัน เด็กวัยนี้ชอบจับสัมผัส ลูบ คลำ บีบเล่น หรือโยนเล่น กลิ้งเล่น และฝึกการฟังเสียง ต่างๆกันของของเล่นขณะบีบ เขย่า เคาะ ตลอดทั้งฝึกจับของเล่นเปลี่ยนมือได้อีกด้วย
   4.เครื่องเขย่าให้เกิดเสียงได้แก่ กรุ๋งกริ้ง ,กระดิ่ง ซึ่งอาจมีขนาดและน้ำหนักที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือในการจับและคว้าของเล่น ฝึกการฟังเสียงของของเล่นที่มีความแตกต่างกัน เด็กวัยนี้ชอบคว้า จับ เขย่า เคาะ ของเล่นเพื่อให้เกิดเสียงต่าง ๆ รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้เด็กได้สนใจมองขณะที่เด็กมีกิจกรรมในการจับเขย่า เคาะเล่นอีกด้วย
   5.กระจกเงา เพื่อฝึกการมองและการสังเกต การเคลื่อนไหวของหน้าตา และท่าทางขณะมองเล่นเด็กวัยนี้มักชอบมองเงาตัวเอง และสิ่งอื่น ๆ ในกระจก
   6. ของเล่นไขลาน เช่น ลูกเป็ด ลูกไก่ และอื่น ๆซึ่งอาจมีเสียงดนตรีประกอบ ขณะที่ของเล่นไขลานเคลื่อนไหว เด็กสนใจและมองตามการเคลื่อนไหวของของเล่นเหล่านั้น ตลอดทั้งกระตุ้นให้เด็กเกิดการเคลื่อนไหวตัวเองอีกด้วย เช่น เด็กอาจจะคืบ , คลาน หรือ เกาะเดิน , เหนี่ยวตัวลุกยืน เกาะยืน เพื่อให้ได้ของเล่นเหล่านั้น
   7. วัสดุรูปทรงเรขาคณิต อาจเป็นผ้า ,กล่องสีต่าง ๆ ,ก้อนไม้ หรือ ก้อนพลาสติกที่มีขนาดต่างกัน
เพื่อฝึกการสังเกตรูปร่าง รูปทรง และจับกำ ซึ่งภายในกล่องสีต่าง ๆ อาจใส่เม็ดถั่ว / เม็ดพลาสติก ไว้ข้างในได้ เมื่อเด็กเขย่า / เคาะ แล้วเกิดเสียง เพื่อกระตุ้นการฟัง และความสนใจของเด็กในขณะเล่น ของเล่นมากขึ้น
   8. หมุดหรือไม้สี ซึ่งมีขนาดใหญ่ อาจทำด้วยไม้หรือ พลาสติก พร้อมกระดานมีรู เพื่อเสริมสร้างการใช้ปลายนิ้ว ในการหยิบ หรือยัดนิ้วใส่ลงในรู หรือในช่องที่เจาะไว้บนกล่อง เด็กวัยนี้เริ่มใช้ปลายนิ้ว หยิบ หรือใช้นิ้วยัดใส่รู หรือช่องที่เจาะไว้


 ของเล่นเด็ก

วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตัวอย่างเก่มง่ายๆสำหรับเด็กที่กำลังจะถึง 1 ปี

ตัวอย่างเก่มง่ายๆสำหรับเด็กที่กำลังจะถึง 1 ปี (Chapter 1)

พ่อแม่หรือผู้ปกครองสามรถเล่นกับลูกๆได้ง่ายๆ และมีประสิทธิภาพมาก

เกมจ๊ะเอ๋ 
   เกมนี้เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการค้นหาวัตถุที่หายไป ตลอดทั้งฝึกความสนใจ ,สมาธิในการฟังจังหวะของเสียง และยังเป็นการเสริมสร้างปฎิสัมพันธ์ ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ด้วย โดยผู้ใหญ่อาจใช้มือ , ผ้า หรือกระดาษปิดหน้าตัวเอง หรือปิดหน้าเด็ก และเมื่อเปิดมือ ผ้า หรือกระดาษออกพร้อมกับพูดคำว่า “จ๊ะเอ๋” ซึ่งน้ำเสียงที่ใช้ควรจะเร้าอารมณ์เด็กให้เกิดความสนุกสนานด้วย ซึ่งเด็กจะมองหาหน้าผู้ใหญ่ที่หายไปในขณะเล่น

เกมปูไต่
   เกมนี้เพื่อฝึกให้เด็กได้รับการฟังเสียง ฝึกความสนใจ มีการจับจ้องมองหน้าแม่ ตลอดทั้งได้รับรู้ถึงการสัมผัสจากวัตถุที่มีความแตกต่างกันของพื้นผิว สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก รวมถึงพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีของเด็กด้วย โดยผู้ใหญ่ใช้ปลายนิ้ว หรือของเล่น หรือวัสดุที่มีพื้นผิวต่าง ๆ กัน เช่น ผ้า , ฟองน้ำ , ตุ๊กตายางไล้ไปบนผิวเด็กในทุกจุดของร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ขณะเล่นเกมผู้ใหญ่ควรพูดคุย หัวเราะ และยิ้ม สร้างบรรยากาศให้เด็กสนุกสนานไปด้วย ตลอดทั้งจุดต่าง ๆ ที่ลูบไล้ / สัมผัสไปบนผิวเด็ก ควรบอกให้เด็กได้รับรู้ด้วย เช่น “แม่กำลังลูบไล้มือของลูกนะ” อาจร้องเพลงขณะเล่นปูไต่ด้วยก็ได้

เกมจับปูดำ
   เกมนี้เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือในการเปิด – ปิดมือหรือกำ – แบมือ ตลอดทั้งเด็กเริ่มสามารถเลียนแบบท่าทางกำมือ แบมือจากพ่อแม่ในขณะเล่นเกมนี้ โดยขณะเล่นผู้ใหญ่ควรร้องเพลง “จับปูดำขย้ำปูนา จับปูม้า มาคว้าปูทะเล”ร่วมด้วย เด็กจะเกิดความสนุกสนาน และสร้างเสริมการมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกด้วย รวมทั้งเป็นการฝึกการฟัง ความสนใจ และสมาธิให้กับเด็กอีกด้วย

เกมตบมือเปาะแปะ
   เกมนี้เพื่อฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อมือทั้ง 2 ข้าง และเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในขณะเล่นด้วย ตลอดทั้งให้เด็กฝึกฟังจังหวะในขณะตบมือ และเพิ่มความสนุกสนานให้กับเด็กอีกด้วย โดยผู้ใหญ่จับมือเด็กมาตบมือกันหรือ เด็กตบมือเอง เมื่อผู้ใหญ่กระตุ้นให้เด็กทำตาม อาจใช้คำกลอน หรือ เพลงที่เกี่ยวข้องกับการตบมือมาประกอบด้วยก็ได้

เกมค้นหาของเล่น
   เกมนี้เพื่อฝึกให้เด็กได้รู้จักใช้ความคิดในการแก้ปัญหาอย่างง่าย ในการค้นหาของเล่น ซึ่งผู้ใหญ่อาจช่วยชี้แนะได้บ้าง เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกถึงความสำเร็จในการทำงาน ตลอดทั้งเด็กได้รับการฝึกประสบการณ์เรื่องการคงอยู่ของวัตถุ (Object Permanent) โดยผู้ใหญ่ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดของเล่นในขณะที่เด็กเล่นอยู่ อาจจะปิดบางส่วน หรือปิดทั้งหมดของของเล่นก็ได้ ซึ่งเด็กจะพยายามค้นหาของเล่นโดยการดึงผ้า หรือกระดาษออก

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิธีฝึกทักษะทางภาษาให้ทารก

วิธีฝึกทักษะทางภาษาให้ทารก

     เมื่อลูกอายุได้ครบขวบจะเริ่มมีพัฒนาการทางการพูดได้มาก ซึ่งพ่อแม่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาให้ลูกได้ โดย...
1. หมั่นพูดให้ลูกฟังเป็นตัวอย่าง เพราะลูกจะเรียนรู้และจดจำจากการพูด การออกเสียงของพ่อแม่   
2. อย่าบังคับ ถ้าอยากฟังลูกพูดคำแรก อย่าปฏิเสธที่จะให้ของที่เขาต้องการ ถึงจะยังไม่สามารถบอกชื่อของสิ่งนั้นได้ก็ตาม
3. พูดคุยกับลูก เพราะธรรมชาติในการเรียนรู้ที่จะพูด ต้องเริ่มมาจากการฟังก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงเกิดการเลียนแบบออกเสียงตาม
4. อ่านหนังสือให้ลูกฟังเพื่อเป็นการกระตุ้น ลูกจะมองหน้าพ่อแม่เวลาที่อ่านพร้อมทั้งฟังไปด้วย เป็นกลยุทธ์ให้เขาสนใจที่จะพูดได้บ้าง
5. แสดงความสนใจเมื่อลูกเริ่มอ้อแอ้ๆ เพราะเขามีความต้องการในการสื่อสารและอยากให้เราฟังเขาพูดบ้างเหมือนกัน พยายามแสดงออกว่าคุณตั้งใจอยากฟังที่เขาพูดด้วย
6. หมั่นร้องเพลงและพูดคำที่มีจังหวะคล้องจอง อย่างเพลงหรือกลอน จะช่วยให้ลูกรู้สึกสนุกที่จะฟัง ทำให้จดจำ และอยากพูดได้บ้าง



ขอบคุณ
ที่มา: rakluke.com


ศิลปะกับพัฒนาการเด็ก

ศิลปะกับพัฒนาการเด็ก

     เด็กๆทุกคนล้วนมีวิญญาณของศิลปินน้อยอยู่ในตัว การวาดรูประบายสีจึงเป็นกิจกรรมสุดเพลิดเพลินเกินห้ามใจสำหรับเด็กๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่คงจะสังเกตเห็นกันอยู่บ่อยๆ ว่าลูกน้อยแสนซนของเราสามารถสงบนิ่งและมีสมาธิได้เป็นเวลานานๆเมื่อมีดินสอ พร้อมกระดาษและสีเทียนอยู่ในมือ
     แต่นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน ศิลปะยังแฝงไปด้วยประโยชน์หลากหลายต่อพัฒนาการและทักษะด้านต่างๆ ของเด็กๆ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ พัฒนาการทางด้านร่างกาย การระบายสี การขีดเขี่ย รวมถึงการวาดรูป ล้วนมีส่วนช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมือทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ (Motor skill) และเป็นการฝึกการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา ซึ่งในช่วงแรกๆ เด็กๆ จะยังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อมือเหล่านี้ได้ดีนัก น้องอาจจะระบายออกนอกเส้นบ้าง แต่เมื่อฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง พร้อมไปกับวัยที่เติบโตขึ้นเด็กๆก็จะสามารถวาดและควบคุมทิศทางการระบายได้ดีขึ้น
     มากไปกว่านั้นการทำงานศิลปะก็เปรียบเสมือนประตูเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ ในวัยที่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์กำลังเบ่งบาน ศิลปะคือช่องทางในการถ่ายทอดและสื่อสารซึ่งความคิดที่เค้าไม่สามารถสื่อสารออกมาทั้งหมดด้วยคำพูดหรือการเขียน และเป็นการเปิดโอกาสให้เค้าได้ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการลงบนพื้นที่ที่ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด รวมถึงได้พัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาต่างๆในระหว่างทำงานศิลปะอีกด้วย
     ศิลปะยังช่วยพัฒนาสมาธิ อารมณ์ การมองโลกในแง่บวก ช่วยให้น้องๆได้เรียนรู้ถึงความสุนทรีย์ และรู้จักชื่นชมความสวยงามของสิ่งต่างๆ นอกจากนี้การที่ ศิลปะ ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตัวเองซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเข้าสังคมให้กับเด็กๆ
 
  แต่ทั้งนี้เด็กในแต่ละช่วงวัยก็จะมีความสามารถในการขีดเขียนและทำงานศิลปะที่แตกต่างกันซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ส่งเสริมให้ถูกต้องสอดคล้องไปกับช่วงวัยและพัฒนาการ โดยวิคเตอร์ โลเวนเฟลด์ (Victor Lowenfeld) นักการศึกษาศิลปะ ชาวอเมริกัน ได้แบ่งขีดความสามารถทางศิลปะตามอายุของเด็กไว้ดังนี้

อายุ 0-2 ปี เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสรับรู้เกี่ยวกับศิลปะ ด้วยการดู การฟัง การรับรสและสัมผัสกลิ่น
อายุ 2 – 4 ปี เป็นขั้นขีดเขี่ย (Scribbling Stage) เด็กๆจะเริ่มใช้อุปรณ์ทางศิลปะ เล่น ขูด เขี่ย ลาก วาดแบบไม่มีความหมาย และเป็นเพียงแค่การทำเพื่อความสนุกสนาน
อายุ 4 – 7 ปี เป็นขั้นก่อนมีแบบแผนหรือขั้นเริ่มต้นเขียนภาพให้มีความหมาย (Pre-schematic Stage) น้องๆ จะเริ่มวาดให้เข้าใจด้วยการแทนค่าเป็นสัญลักษณ์ น้องบางคนจะสามารถสื่อถึงความหมายได้โดยการบอกเล่าแต่ลักษณะการวาดจะเป็นรูปที่ยังไม่เหมือนจริง
อายุ 7 – 9 ปี เป็นขั้นของการใช้สัญลักษณ์หรือขั้นเขียนภาพได้คล้ายของจริง (Schematic Stage) ซึ่งเด็กเริ่มจะสามารถวาดรูปคล้ายจริงได้หรือลอกแบบตามสิ่งที่เห็น
ความสามารถในเรื่องการวาดรูปของเด็กจะมีการพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนอย่างค่อยเป็นค่อยไปสอดคล้องไปกับวัยของเด็ก แต่ในเรื่องการระบายสีนั้น สามารถส่งเสริมให้กับเด็ก ๆ ได้ตั้งแต่ยังเล็ก โดยอาจเริ่มที่การบอกชื่อของสีวัตถุต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เริ่มเรียนรู้และสามารถจดจำสีต่าง ๆ ได้ แล้วจึงค่อยเริ่มพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดเล็กและมัดใหญ่ผ่านการระบายสีในขนาดพื้นที่ที่เล็กใหญ่แตกต่างกัน

     ศิลปะนั้นเป็นทักษะที่ต้องการฝึกฝนและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การชื่นชมและให้กำลังใจของคุณพ่อคุณแม่ จะเป็นการสร้างรากฐานแห่งความมั่นใจให้กับเด็กๆว่าทำออกมาได้ดีและถูกต้อง จนเกิดความคุ้นเคย และเป็นแรงส่งเสริมให้เด็กๆกล้าที่จะทำและคิดสร้างสรรค์ต่อไปจนเป็นลักษณะนิสัยที่ติดตัวไปในอนาคต


ขอบคุณ
ที่มา: th.globalart.world

ความหมายและประโยชน์ของการเล่น

ความหมายของการเล่น

     การเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ ตัวเองและบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว  และนอกจากนี้ การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทอีกด้วย

ประโยชน์ของการเล่น
1. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน
2. ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
4. ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์
5. ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง
6. ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน (sharing) การผลัดเปลี่ยน (turn taking) การช่วยเหลือ (co-operation) การอดทนต่อการรอคอย ความยืดหยุ่น (flexibility)
7. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ
8. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี
9. ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศ และบทบาทสมมุติ
10. ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสนใจและสมาธิ

ขอบคุณ
ที่มา: clinicdek.com

 ของเล่นเด็ก goodtoysbaby

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การเล่นพัฒนาอัจฉริยภาพของลูกน้อย

การเล่นพัฒนาอัจฉริยภาพของลูกน้อย

     การเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กทุกคน  การเล่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่นำไปสู่การเรียนรู้  รู้จักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  รู้จักช่างสังเกต  คิดเชื่อมโยงเหตุผล  ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จของการเล่น  ได้เรียนรู้บทบาทของการเป็นผู้ใหญ่  ได้เรียนรู้ในส่วนของกระบวนการคิด – วางแผน – อีกทั้งการเล่นยังเป็นส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่  ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเล่นจะช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กในด้านต่าง ๆ ได้แก่
   -ด้านร่างกาย  (Physical Development) การเล่นช่วยพัฒนากล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย เกิดการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างระบบประสาทและมัดกล้ามเนื้อ
   -ด้านสติปัญญา  (Cognitive Development) การเล่นช่วยให้เด็กปรับตัว พัฒนาด้านความคิด  เกิดการแก้ปัญหา  คิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ เข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
   –ด้านภาษา  (Language Development)  การอ่าน  การเขียน  การเล่น  เด็ก ๆ จะได้รู้คำศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นจากการใช้ภาษาสื่อสารระหว่างผู้เล่น
   –ด้านอารมณ์  (Emotional  Development)  การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการแสดงอารมณ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  กลัว  โกรธ  เครียด  ซึ่งอารมณ์ลบเหล่านี้แสดงผ่านออกมาทางการเล่น  การเล่นทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง   เด็กจะเกิดความสุขเมื่อตนเองเล่นประสบความสำเร็จ
   -ด้านความคิดและจินตนาการ (Creativity and Imaginary Development)   การเล่นสามารถต่อยอดและส่งเสริมจินตนาการให้เด็กอย่างแน่นอน

ขอบคุณ
ที่มา :theasianparent  thailand

ของเล่นเด็ก

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เลโก้ ของเล่นที่ฉลาดที่สุดในโลก

 เลโก้ ของเล่นที่ฉลาดที่สุดในโลก

       เลโก้ (LEGO) เป็นตัวต่อพลาสติกยอดนิยมท่ีมีลักษณะเหมือนก้อนอิฐหลากสีสันและขนาดที่มีปุ่มและร่องให้ประกอบเข้าด้วยกันโดยไม่ใช้กาว เพื่อให้ผู้เล่นนําไปต่อเป็นรูปร่างต่าง ๆ นาๆ

   ถือกําเนิดขึ้นในราวปี 1932 เมื่อ โอเล่ เคิร์ก คริสเตียนเซ่น (Ole Kirk Kristiansen) ช่างไม้และช่างทําเฟอร์นิเจอร์ผู้เชี่ยวชาญจากเมืองบิลุนด์ ประเทศเดนมาร์ก ที่ช่วงนั้นเองได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหนักจากความล้มเหลวในธุรกิจเดิม เขาจึงตัดสินใจเริ่มธุรกิจใหม่ของตัวเอง โดย

ผลิตสินค้าและเครื่องมือเครื่องใช้หลากหลายชนิดออกมาจําหน่าย อย่างเช่น บันไดพับ โต๊ะรองรีดผ้า ม้านั่ง รวมถึงของเล่นไม้ด้วย
   ช่ือของบริษัทถูกต้ังขึ้นมาจากการนําตัวอักษรสองตัวแรกของคําสองคําในภาษาเดนมาร์กอย่าง “LEg” และ “GOdt” (ซึ่งแปลว่า “Play Well” หรือ “เล่นได้เล่นดี”) มาผสมกัน ท้ังยังเป็นคําที่มีความหมายในภาษาละตินว่า “I put together” ซึ่งแปลว่า “ฉันวางเอาไว้ด้วยกัน” ตอน

แรกบริษัทมีพนักงาน 6-7 คน โดยมี กอดต์เฟรด เคิร์ก คริสเตียนเซ่น (Godtfred Kirk Christiansen) ลูกชายของเขา เป็นหนึ่งในพนักงานของบริษัทตั้งแต่อายุเพียงแค่ 12 ปี
   ด้วยความที่เป็นช่างฝีมือ โอเล่ เคิร์ก คริสเตียนเซ่น จึงเป็นคนที่ใส่ใจต่อคุณภาพของสินค้าเป็นอย่างมาก เขามีคติพจน์ประจําใจในการทํางานว่า “Only the best is good enough” (ส่ิงท่ีดีท่ีสุดเท่านั้นถึงจะดีพอ) โดยของเล่นไม้ทุกชิ้นของเขาจะถูกผลิตด้วยความประณีต แข็งแรง

ทนทาน สีที่ใช้ต้องเคลือบถึง 3 ชั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องสิ้นเปลืองสําหรับยุคเศรษฐกิจซบเซาในช่วงนั้น
   ว่ากันว่ามีคร้ังหน่ึง กอดต์เฟรด ลูกชายของเขาต้องการประหยัดงบของบริษัท จึงทําการเคลือบสีของ เล่นแค่สองช้ัน เมื่อโอเล่ทราบเรื่องจึงสั่งให้หยุดการส่งสินค้า และให้ลูกชายนํากลับมาเคลือบสีเพิ่มให้ครบและบรรจุใส่กล่องใหม่เพียงคนเดียวเท่าน้ัน ในภายหลังกอดต์เฟรดได้ทําป้าย

ท่ีเขียนคติพจน์ประจําใจของพ่อขึ้นมาเพื่อแขวนในห้องทํางาน และยึดถือมันเป็นแนวทางหลักของตนเองและแนวทางของบริษัทจวบจนทุกวันนี้
   ในปี 1942 โรงงานเลโก้ถูกเผาราบเป็นหน้ากลองจากเหตุการณ์จลาจล แต่โรงงานในส่วนที่ผลิตของเล่นถูกรื้อฟื้นกลับมาใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในปี 1946 เลโก้กรุ๊ป เป็นบริษัทแรกในเดนมาร์กท่ีส่ังซื้อเครื่องฉีดพลาสติกสําหรับผลิตของเล่น

หลังจากนั้นไม่กี่ปี บริษัทก็ผลิตของเล่นไม้และพลาสติกหลากหลายแบบราว 200 ชนิด ซึ่งรวมถึงของเล่นตัวต่อที่เป็นต้นแบบของตัวต่อเลโก้ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ที่มีชื่อว่า Automatic Binding Bricks และมีวางขายเฉพาะในเดนมาร์กเท่าน้ัน โดยผลิตออกมาสี่สี บริษัทเดินหน้าสู่การ

เป็นบริษัทผู้ผลิตของเล่นเต็มตัว

   ในปี 1950 กอดต์เฟรด เคิร์ก คริสเตียนเซ่น ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานบริษัทในขณะท่ีมีอายุ เพียง 30 ปี หลังจากนั้นหน่ึงปี ของเล่นพลาสติกเพิ่มสัดส่วนเป็นครึ่งหน่ึงของจํานวนการผลิตท้ังหมด
   ในปี 1953 Automatic Binding Bricks มีช่ือใหม่เป็น “LEGO Mursten” (LEGO Bricks – ตัวต่อเลโก้) โดยมีชื่อของบริษัทพิมพ์อยู่ด้านในของตัวต่อทุกตัว ชื่อ LEGO ได้รับการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม 1954
   กอดต์เฟรดเดินทางท่องเท่ียวและพบตัวแทนจัดซื้อในอังกฤษ พวกเขาคุยเก่ียวกับเรื่องของเล่น ตัวแทนคนน้ันบอกว่าของเล่นส่วนใหญ่ในเวลาน้ันขาดแนวคิดและระบบที่ดี คําพูดนี้ได้บ่มเพาะแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการออกแบบของเล่นแนวใหม่ให้กับเขา
   ในปี 1955 หลังจากพัฒนาตัวต่อเลโก้ให้สมบูรณ์แบบข้ึน บริษัทได้ทําการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่ปฏิวัติวงการของเล่นอย่าง LEGO System of Play ที่สร้างระบบใหม่ของการเล่นข้ึนมา ด้วยชุดของเล่นตัวต่อ 28 ชุด ตัวต่อรถแบบต่างๆ 8 แบบ และอุปกรณ์เสริมอย่าง ต้นไม้ เสาไฟ

ปั้มน้ํามัน และป้ายจราจร ฯลฯ โดยเป็นครั้งแรกท่ีผู้เล่นสามารถสร้างสรรค์การเล่นได้ตามจินตนาการโดยไม่ถูกจํากัดให้ทําตามแบบในคู่มือเท่านั้น สินค้าตัวใหม่น้ีถูกเปิดตัวในงานแสดงของเล่นที่ นูเรมเบิร์ก เยอรมนี แต่ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร อาจจะเพราะความท่ีมันแปลกใหม่เกิน

ไป แต่ก็มีการส่งสินค้าออกไปขายนอกประเทศเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นท่ีประเทศสวีเดน
   ในปี 1957 ระบบการเช่ือมต่อแบบใหม่ของตัวต่อเลโก้ถูกคิดค้นขึ้น ด้วยการใช้ปุ่มด้านบน และท่อทรงกระบอกด้านล่างซึ่งทําให้ตัวต่อต่อกันได้อย่างมั่นคงขึ้น มันถูกจดสิทธิบัตรและถูกวางขายในอีกหนึ่งปีต่อมา ซึ่งก็คือตัวต่อเลโก้แบบเดียวกับที่เราเห็นกันในปัจจุบันนั่นเอง
   ในปีเดียวกันนั้นเอง ประธานผู้ก่อตั้งบริษัทและบิดาผู้ให้กําเนิดเลโก้อย่าง โอเล่ เคิร์ก คริสเตียนเซ่น ได้ เสียชีวิตลง กอดต์เฟรด เคิร์ก คริสเตียนเซ่น ผู้เป็นบุตรชายจึงต้องขึ้นดํารงตําแหน่งแทน มีการตั้งสาขาของเลโก้ ในหลายประเทศในยุโรป ท้ัง ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยียม และสวีเดน

ปี 1960 เกิดไฟไหม้ขึ้นที่โกดังเก็บของเล่นไม้ของเลโก้จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประกอบกับของเล่นพลาสติกได้รับความนิยมกว่ามาก บริษัทจึงตัดสินใจหยุดการผลิตของเล่นไม้และหันมามุ่งผลิตของเล่นพลาสติกเพียงอย่างเดียว
   ในปี 1963 กอดต์เฟรด เคิร์ก คริสเตียนเซ่น นําเสนอบุคลิกสิบประการของเลโก้ คือ 1. ศักยภาพในการเล่นท่ีไม่จํากัด 2. เหมาะสําหรับทุกเพศ 3. เหมาะสําหรับทุกวัย, 4. เล่นได้ตลอดปี 5. เล่นได้อย่างถูกสุขอนามัยและสงบเสงี่ยม 6. เล่นได้ทนทานยาวนาน 7. เสริมสร้างพัฒนาการ

จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ 8. ย่ิงมีมากย่ิงเปี่ยมประโยชน์ 9. มีแบบพิเศษให้เลือกเล่น 10. เปี่ยมคุณภาพในทุกรายละเอียด
   อีกทั้งยังนําวัสดุชนิดใหม่อย่าง พลาสติก ABS (Acrylnitrile Butadiene Styrene) มาใช้แทนวัสดุเก่า อย่างพลาสติก Cellulose Acetate ในการผลิตตัวต่อเลโก้ ซึ่งวัสดุใหม่นี้มีความทนทาน สีสันสดใส ผลิตได้ไว และมีความแม่นยํา และยังยึดเกาะกันเวลาต่อได้ดีกว่า ตัวต่อเล

โก้กว่า 706 ล้านชิ้นถูก ผลิตออกมาในแต่ละปี และวางขายใน 42 ประเทศทั่วโลก มีชิ้นตัวต่อเลโก้ในแบบที่แตกต่างกัน 218 แบบ (ไม่นับสี) เซ็ตตัวต่อเลโก้ถูกขายไป 18 – 19 ล้านชุดต่อปี
   ในปีถัดมา สวนสนุก LEGOLAND เปิดขึ้นที่เมือง บิลุนด์ในวันที่ 7 มิถุนายน 1968 มันดึงดูดนักท่องเท่ียวกว่าหกหมื่นคนในฤดูกาลแรกท่ีเปิดตัว
   ในปี 1969 เลโก้ออกสินค้าไลน์ใหม่ Lego Duplo ซึ่งเป็นตัวต่อที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติแปดเท่าสําหรับเด็กท่ีมีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเล็กกลืนตัวต่อลงคอ มาวางขายทั่วโลก
   ปี 1973 โลโก้ใหม่ของเลโก้ถูกนํามาเปลี่ยนแทนโลโก้เดิมของเลโก้ที่มีหลายแบบ สินค้าทุกชนิดของเลโก้จะใช้โลโก้ตัวนี้เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจวบจนถึงปัจจุบัน
   ในปี 1977 คิจลด์ เคิร์ก คริสเตียนเซ่น (Kjeld Kirk Kristiansen) ทายาทรุ่นที่สามลูกชายของกอดต์เฟ รดเข้าร่วมทีมบริหารของเลโก้กรุ๊ป อีกสองปีต่อมาเขาได้รับการแต่งต้ังเป็นประธานและซีอีโอของ INTERLEGO A/S เลโก้ออกสินค้าตัวใหม่ LEGO TECHNIC ตัวต่อ

ท่ีมีมอเตอร์และกลไกสําหรับเด็กโต ในปีถัดมาเลโก้ออกโรดโชว์เป็นครั้งแรกในหลาย ๆ ประเทศ และต่อมาก็ได้กลายเป็นงานเลโก้เวิร์ลโชว์ในที่สุด
   ในปี 1986 กอดต์เฟรด เคิร์ก คริสเตียนเซ่น ลาออกจากการเป็นประธานกรรมการของ LEGO System A/S และ LEGO Overseas และให้ คิจลด์ เคิร์ก คริสเตียนเซ่น ขึ้นดํารงตําแหน่งแทน ในปี 1990 LEGO Group เป็นบริษัทผลิตของเล่นเพียงแห่งเดียวในยุโรปท่ี ติด 1

ใน 10 ผู้ผลิตของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก กอดต์เฟรด เคิร์ก คริสเตียนเซ่น เสียชีวิตลงในวันท่ี 13 กรกฎาคม 1995
   ในปี ค.ศ. 1996 ได้มีการเปิดเว็บไซต์ www.lego.com และในวันที่ 29 มีนาคม ปีเดียวกัน ได้มีการเปิด LEGOLAND Windsor ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นเลโก้แลนด์แห่งแรกที่อยู่นอกประเทศเดนมาร์ก
   ในปี 1999 ตัวต่อเลโก้ได้รับการเสนอชื่อเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์แห่งศตวรรษ (Products of the Century) โดยนิตยสารฟอร์จูน
   ปี 2003 เลโก้กรุ๊ป ประกาศผลกําไรท่ีมหาศาลถึง 1.4 พันล้าน DKK ในปัจจุบัน เลโก้ติดอยู่ใน 5 อันดับบริษัทผลิตของเล่นที่มียอดขายสูงสุดของโลก และยังคงเป็นบริษัทที่ดําเนินงาน และเป็นเจ้าของโดยครอบครัว เคิร์ก คริสเตียนเซ่นอยู่
   เลโก้ เป็นของเล่นสารพัดประโยชน์ที่ได้รับการยกย่องว่าสร้างเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี เหมาะสําหรับผู้เล่นทุกเพศทุกวัย (สังเกตได้ว่าเราจะเห็นผู้ใหญ่วัยกลางคนนั่งต่อเลโก้อยู่คนเดียวในบูธเลโก้ตามห้างสรรพสินค้าอยู่บ่อย ๆ) มันช่วยให้เด็กวัยเรียน

รู้ได้พัฒนาความสามารถในการหยิบจับ แยกสี นับเลข และยังช่วยพัฒนาความคิด จินตนาการ และทักษะทางด้านการออกแบบสร้างสรรค์และตรรกะอีกด้วย นอกจากเลโก้จะเป็นตัวต่อที่หยิบเอาคน สัตว์ สิ่งของ ยวดยานพาหนะ อาคารบ้านเรือนหรือ สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่อยู่รอบตัวของ

เด็กๆ มาสร้าง เป็นตัวต่อได้แล้ว มันยังนําเอาเรื่องราวจากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อในวัฒนธรรมป๊อปอย่าง การ์ตูน หรือภาพยนตร์ มาใช้เป็นธีมหลักอีกด้วย
   หลายปีที่ผ่านมาเลโก้ซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนและ ภาพยนตร์จํานวนมากมายมหาศาลมาทําเป็นธีมของเล่น อาทิเช่น Cars, Harry Potter, Indiana Jones, Lord of the Rings, Pirates of the Caribbean, Prince of Persia, Speed Racer, Spider-Man, SpongeBob SquarePants, Star Wars, Super Heroes, Thomas the Tank Engine, Toy Story, The Lone Ranger และ The Hobbit เป็นต้น
   นอกจากน้ันยังมีหนังท่ีนําเอาคาแรคเตอร์ของเลโก้ ไปเป็นตัวละครเอกในเรื่อง อาทิ LEGO: The Adventures of Clutch Powers (2010) (ดีวีดี) รวมถึงหนัง 3D แอนิเมชั่นฉายโรงอย่าง The Lego Movie (2014) ซึ่งท้ังตัวละครและฉากต่างๆ ล้วนประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนของเลโก้ (ที่ทําจากคอมพิวเตอร์กราฟิค) ทั้งสิ้น และล่าสุดที่เพิ่งเข้าฉายในปีนี้อย่าง The LEGO Batman Movie (2017) นั่นเอง

       เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเลโก้
ในความเป็นจริง เลโก้ไม่ใช่ผู้คิดค้นระบบตัวต่อแบบ Automatic Binding Bricks ออกมาวางขายเป็นรายแรก หากแต่เป็น Kiddicraft ทําออกมาก่อน และเลโก้นํามันมาพัฒนาต่อยอดอีกทอดนึง
เครื่องจักรของโรงงานเลโก้นั้นแม่นยํามาก โดยท่ีมีความคลาดเคลื่อนต่ำกว่า 0.002 มิลลิเมตรเท่านั้น ในทุก ๆ หนึ่งล้านชิ้น จะมีเพียง 18 ชิ้นเท่าน้ันที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานโรงงาน
มี 915 ล้านวิธีการที่จะประกอบเลโก้ธรรมดาเพียงแค่หกตัว
ในปี 2013 ชิ้นส่วนตัวต่อเลโก้ห้าหมื่นหกพันล้านชิ้นถูกผลิตออกมา คิดเฉลี่ยออกมาเป็นเลโก้ 80 ช้ินสําหรับมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ และในแต่ละปีมีเด็กและผู้ใหญ่ที่เล่นตัวต่อเลโก้มากกว่า 400 ล้านคนท่ัวโลก
ถ้าคุณเอาตัวต่อ Lego 40,000 ล้านช้ินมาต่อเรียงกันเป็นเสา มันจะสูงถึงดวงจันทร์ ถ้าเอาชุดตัวต่อ Lego ที่คนซื้อไปใน 1 ปีมาวางซ้อนกันไว้ มันจะเต็มสนามฟุตบอลขนาดใหญ่และสูงขึ้นไปเกือบ 78 เมตรหรือพอ ๆ กับตึก 26 ชั้น หรือถ้าเอาตัวต่อ Lego ที่มีคนซื้อใน 1 ปีนั้นมาต่อ

เรียงยาวๆ มันจะวนรอบโลก ได้มากกว่า 5 รอบ
โดยประมาณแล้ว จะมีคนซื้อชุดตัวต่อ Lego 7 ชุดในทุกๆ วินาที
คุณสามารถหาซื้อ Lego แทบจะท่ีไหนก็ได้ในโลก เพราะ Lego มีจําหน่ายอยู่ในมากกว่า 130 ประเทศ
เด็กๆทุกคนท่ัวโลกใช้เวลาเล่น Lego ใน 1 ปีรวมกัน ประมาณ 5 พันล้านชั่วโมง
ไม่มีเลโก้เซ็ตไหนที่มีธีมเกี่ยวกับเรื่องทางการทหาร เหตุเพราะ โอเล่ เคิร์ก คริสเตียนเซ่น ไม่อยากให้เด็ก ๆ มีความสนใจในสงคราม เดิมทีไม่มีตัวต่อเลโก้แบบไหนที่ดูเหมือนอาวุธสงคราม อย่างเช่น ปืน ด้วยซ้ำ แต่ก็มีการเปลี่ยนนโยบายในภายหลัง เนื่องจากมีข้อตกลงในสัญญาในการ

นําภาพยนตร์มาใช้เป็นธีมหลัก แต่ก็มีกําหนดอย่างชัดเจนว่าให้อยู่ในรูปแบบของแฟนตาซี และจินตนาการเท่านั้น
ตั้งแต่ปี 1981 โฆษณาของเลโก้สะท้อนถึงแนวคิดการไม่แบ่งเพศของเด็ก แต่ในปี 2012 ท่ีผ่านมา เลโก้ออกสินค้าชิ้นใหม่ที่ใช้ช่ือว่า LEGO Friends ผลิตตุ๊กตาและข้าวของต่างๆ ในโทนสีชมพู เน้นให้เด็กเล่นโดยใช้ชีวิตแบบผู้หญิง ทําให้กลุ่มผู้ปกครองกลุ่มหน่ึงถึงกับล่ารายช่ือร้อง

เรียนให้เลโก้พิจารณา สินค้าตัวนี้ใหม่ เพราะที่ผ่านมาเลโก้สร้างความสบายใจให้พ่อแม่ท่ีซื้อเพราะเน้นให้เด็กคิดเล่นอย่างสร้างสรรค์โดยไม่มีการแบ่งแยก แต่เมื่อมาแตกไลน์สินค้าเช่นนี้ ก็เท่ากับเป็นการตอกย้ำค่านิยมความเป็นหญิงเป็นชายให้กับของเล่นตัวต่อเด็กที่ควรจะไร้เพศ นอก

จากบอกว่า นี่คือของสําหรับเด็กผู้หญิงเท่าน้ันแล้ว หากมีเด็กผู้ชายอยากเล่น LEGO Friends ก็อาจจะเกิดประเด็นอีก แต่ปรากฏว่า ยอดขาย LEGO Friends กลับพุ่งพรวดเกินความคาดหมาย จนผู้ผลิตยังแปลกใจทั้งท่ีโดนทักท้วงและต่อว่าขนาดหนัก
   ในบทหนึ่งของหนังสือ โลกของโซฟี (Sophie’s World) เขียนโดย โยสไตน์ กอร์เดอร์ (Jostein Gaarder) กล่าวเอาไว้ว่า เลโก้เป็นของเล่นที่ฉลาดท่ีสุดในโลก หนังสือกล่าวเปรียบเทียบเลโก้ว่า “มีคุณสมบัติคล้ายกับอะตอมในปรัชญาของเดโมคริตุส และนี่คือเหตุผลที่ทําให้มันเป็น

ของเล่นที่สนุก เพราะประการแรกและประการท่ีสําคัญที่สุด ตัวเลโก้ไม่สามารถแบ่งออกเป็นช้ินเล็ก ๆ ได้อีก มันมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ กัน ทนทาน ไม่แตกหัก สีสันสดใสไม่ซีดจาง แม้จะผ่านไปหลายสิบปี มันสามารถประกอบเป็นอะไรก็ได้ หลังจากนั้นก็สามารถถอดเป็นช้ิน ๆ และ

ประกอบเป็นอย่างอื่นได้อีก การที่เราสามารถเล่น ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าทําให้เลโก้เป็นของเล่นยอดนิยม ตัวเลโก้ตัวหน่ึงในวันนี้อาจเป็นส่วนหน่ึงของรถบรรทุก พอวันต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของปราสาท เราอาจพูดได้ว่าตัวเลโก้มีความเป็น “อมตะ” ด้วยเหตุนี้ เด็ก ๆ ในวันนี้จึงสามารถเล่น

ตัวต่อที่พ่อ แม่ของแกเคยเล่นมาแล้วต้ังแต่คร้ังยังเป็นเด็กได้ เราจะอยากได้อะไรมากกว่าน้ีจากของเล่นอย่างหนึ่งล่ะ?

#GTB #goodtoysbaby #lego #toy #play #LEg #GOdt #เสริมจินตนาการ #automaticbindingbricks #LEGObricks #LEGOsystemofPlay #เสริมพัฒนาการ #คิดสร้างสรรค์



ขอบคุณ
ที่มา: http://www.wurkon.com/full/researchs/lego


วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กิจกรรมการเล่นที่ไม่ต้องใช้ของเล่นสร้างสายใยให้ครอบครัว

 กิจกรรมการเล่นที่ไม่ต้องใช้ของเล่นสร้างสายใยให้ครอบครัว

  1.กระโดดตัวลอย คุณแม่จับมือทั้งสองข้างของลูกไว้ จากนั้นให้ลูกกระโดด คุณแม่หาจังหวะดึงมือขึ้นเพื่อให้ลูกกระโดดสูงกว่าเดิม เมื่อทำซ้ำไปซ้ำมาหลาย ๆ รอบก็ดึงลูกมากอด ไม่ใช่กระโดดสูงเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยดึงลูกขึ้นมาด้วย ทำให้ลูกรู้สึกว่าเขากระโดดสูง ๆ ด้วยตนเอง ลูกจะสนุกสนานและตื่นเต้นมาก
  2.ไม้ลื่นลื่นไถล คุณแม่หรือคุณพ่อนั่งบนเก้าอี้ อุ้มลูกนั่งบนตัก จากนั้นใช้มือทั้ง 2 ข้างเท้าเก้าอี้แล้วยกลำตัวข้างบนขึ้น ปล่อยให้ลูกไหลลงมาตามขาทั้ง 2 ข้าง แม้ว่าระยะทางจะสั้นแต่เป็นไม้ลื่นจากขาคุณพ่อคุณแม่ลูกจะสนุกและมีความสุขมากค่ะ
  3.ลาวกระทบไม้ คุณแม่นั่งเหยียดขามาข้างหน้าให้ลูกยืนคร่อมขาเอาไว้และจับมือทั้ง 2 ข้างให้แน่น จากนั้นกางขา หุบขา ให้ลูกกระโดดไปมา ระหว่างเล่นคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสียงเป็นจังหวะให้ลูกด้วย เมื่อรู้จังหวะจะกระโดดคล่องขึ้น
  4.เรือโยกเยก คุณแม่นั่งเหยียดขาไปข้างหน้า อุ้มลูกนั่งบนตักพร้อมจับมือ 2 ข้างไว้ จากนั้นโน้มตัวไปข้างหน้าพร้อมกับให้ลูกเอนตัวลงนอนพอคุณแม่เอนตัวลงนอนแล้วจึงดึงตัวลูกโน้มตัวไปข้างหน้าทำแบบนี้สลับกัน ควรร้องเพลงประกอบด้วยจะทำให้ลูกสนุกเพลิดเพลินยิ่งขึ้น
  5.แม่ลูกเพนกวิน จับลูกยืนบนหลังเท้าของคุณแม่ โดยหันหน้าเข้าหากัน จากนั้นเดินไปข้างหน้าบ้างถอยหลังบ้าง ทำให้ลูกรู้สึกว่าตนเองเป็นคนเดียวกับพ่อแม่ ตอนแรกให้เดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อยเดินเร็วขึ้น

ขอบคุณ
ที่มา :theasianparent thailand

วิธีเลือกของเล่นให้ลูกอย่างสมวัย

    วิธีเลือกของเล่นให้ลูกอย่างสมวัย
   ของเล่นและการเล่นของเด็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยเตาะแตะ เป็นสิ่งสำคัญ  เพราะนอกจากที่เจ้าหนูจะสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการเล่น  ของเล่นยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูกของคุณพ่อคุณแม่อีกด้วย  ดังนั้น  การเข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้พ่อแม่สามารถเลือกของเล่นให้ลูกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมนั่นเอง

 ของเล่นเด็กวัยแรกเกิด – 6 เดือน
  1. กระตุ้นการมองเห็น ได้แก่  ของเล่นที่มีสีสันสดใสเพื่อดึงดูดสายตา  เช่น  โมบายลวดลายกราฟฟิก   หรือรูปภาพที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน  เช่น  ดำ-ขาว / น้ำเงิน-เหลือง / แดง-เขียว เป็นต้น  หรือเลือกที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง ๆ เวลาที่ลมพัดก็ได้
  2. กระตุ้นการฟังเสียง ได้แก่ ของเล่นที่มีเสียง เช่น กล่องดนตรี ของเล่นที่เขย่าหรือบีบให้เกิดเสียง
  3. ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อ ได้แก่ ของเล่นที่บีบหรือเขย่าแล้วเกิดเสียง ของเล่นที่มีมือสอดกำได้ ลูกบอลนุ่ม ตุ๊กตาผ้ารูปสัตว์ เพื่อส่งเสริมการใช้มือ-นิ้วมือสำหรับหยิบจับสิ่งต่าง ๆ
  4. ของเล่นเสริมสติปัญญา ได้แก่ หนังสือลอยน้ำ หนังสือภาพ โดยมีคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใกล้ชิดคอยอ่านให้ฟัง และชวนดูสีสันต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหนังสือ  กระจกเงาฝึกการรู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว

  ของเล่นเด็กวัย 6 – 12 เดือน
  1. กระตุ้นประสาทสัมผัส  ได้แก่ ของเล่นที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เช่น เรียบ หยาบ นุ่ม แข็ง เพื่อกระตุ้นทักษะ การสัมผัส ของเล่นที่ดูด หรือกัดได้ เช่น  ยางกัดรูปทรงต่าง ๆ  เพื่อกระตุ้นการรับรู้และช่วยลดอาการคันเหงือกของเด็ก
  2. ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อ ได้แก่ ของเล่นประเภทลากจูง    เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อขา  เล่นลูกบอลนุ่ม  บล็อกไม้ใหญ่ ๆ  กล่องหยอดรูปทรงง่าย ๆ เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือในการหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ  ของเล่นที่เขย่าให้เกิดเสียง  เพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น มือ นิ้วมือ
  3. ของเล่นเสริมสติปัญญา ได้แก่ หนังสือที่มีรูปภาพขนาดใหญ่สีสันสดใส ซึ่งพ่อแม่อ่านให้ฟังหรือให้ลูกเปิดหนังสือด้วยตัวเอง  แล้วออกเสียงตาม กระจกเงาเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ของเล่นลอยน้ำ เช่น  ถ้วยกระป๋องเล็ก ๆ เมื่อลูกอาบน้ำให้ลูกรินน้ำและเทเล่นเพื่อปูพื้นทางคณิตศาสตร์เรื่องการกะปริมาณ เป็นต้น

  ของเล่นเด็กวัย 1 – 2 ขวบ 
  1. ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์   ได้แก่   ของเล่นประเภทดันหรือลากจูง (Push Toys & Pull Toys) ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อแขนขาในการทรงตัวและฝึกการบังคับทิศทางการเดิน  ของเล่นประเภททุบ ตอก หรือตี เช่น  ระนาดหรือกลองที่มีเสียงต่าง ๆ ซึ่งนอกจากทำให้เด็กเรียนรู้ความแตกต่างของเสียงแล้วยังฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ   นิ้วมือ  และการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตาและมือ
  2. ของเล่นเสริมความคิดและสติปัญญา ได้แก่ กล่องหยอดรูปทรงเรขาคณิต    เพื่อฝึกการสังเกตและเรียนรู้สี    รูปทรงเลขาคณิตต่าง ๆ  หนังสือภาพ    เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและช่วยให้เด็กเรียนรู้ภาษา  การปั้นดินน้ำมัน แป้งโด ซึ่งช่วยฝึกสมาธิและความคิดสร้างสรรค์ ในการปั้นให้เป็นรูปต่าง ๆ ตามจินตนาการของตัวเอง

  ของเล่นเด็กวัย  2 – 3 ขวบ  
  1. ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์   ได้แก่  ม้าโยก จักรยานสามล้อซึ่งนอกจากความสนุกสนานแล้วยังช่วยให้เด็กฝึกใช้กล้ามเนื้อแขนขาในการทรงตัว    สร้างความสมดุลของร่างกายฝึกร้อยลูกปัดขนาดใหญ่    เพื่อฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ   รวมทั้งช่วยพัฒนาการทำงานของสายตาและมือให้สัมพันธ์กัน
  2. ของเล่นเสริมความคิดและสติปัญญา  ได้แก่ แป้นเรขาสวมหลัก   เป็นการฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา   ลองผิดลองถูกเพื่อวางให้ถูกรูปทรง  รถไฟเรียงซ้อน ฝึกทักษะการสังเกต  การลองผิดลองถูก   และเรียนรู้   เรื่อง   ขนาด สีสันและรูปทรงต่าง ๆ
  3. ของเล่นเสริมบทบาทสมมติ  ได้แก่ ชุดของเล่นเรียนแบบของจริง เช่น   ชุดรวมมิตรผักผลไม้ สอนเด็กให้เรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับผักผลไม้ โดยเล่านิทานผูกเรื่องราวให้เด็กสมมติตัวเองเป็นตัวละครในเรื่องราวนั้น ซึ่งทำให้เด็กได้แสดงความเป็นตัวเองออกมา และช่วยให้เด็กรู้จักเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น

   ของเล่นเด็กวัย  4 – 6 ขวบ
  1. ของเล่นเสริมกล้ามเนื้อและการประสานสัมพันธ์  ได้แก่  รถจักรยานสองล้อ เชือกกระโดด ซึ่งช่วยฝึกการทรงตัวและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อขา  ฝึกร้อยเชือกรองเท้า ช่วยพัฒนาการทำงานประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือและเพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือเพื่อประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน เช่น  การติดกระดุมเสื้อ เป็นต้น
  2. ของเล่นเสริมความคิดและสติปัญญา ได้แก่  ชุดแท่งไม้สร้างเมือง ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในการออกแบบโครงสร้าง เพื่อวางแท่งไม้ให้เป็นรูปแบบเมืองต่าง ๆ  ส่งเสริมความเข้าใจทางคณิตศาสตร์เรื่องของสมดุล  ซึ่งทำให้เด็กเรียนรู้การวางไม้แต่ละชิ้นให้สมดุลชุด เครื่องมือช่างสร้างสรรค์พัฒนาความคิด  และฝึกทักษะการสังเกตในการประกอบชุดไม้เป็นรูปแบบต่าง ๆ  รวมทั้งทำให้เด็กเรียนรู้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในงานช่างไม้ เช่น  การขันน็อต ไขควง เป็นต้น
  3. ของเล่นเสริมบทบาทสมมติ ได้แก่ ชุดสร้างเมือง ซึ่งเป็นการเล่นที่สะท้อนความคิด  ความเข้าใจของเด็กในสิ่งที่กำลังเรียนรู้   รวมทั้งช่วยให้เด็กเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและผู้อื่นในชีวิตประจำวันและสร้างพื้นฐานการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วย

 ฝากข้อคิด   แม้ของเล่นกับเด็กจะเป็นของคู่กันเพื่อสร้างความสนุกสนานและพัฒนาทักษะการเรียนรู้และพัฒนาการในด้านต่าง ๆแต่คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า  ของเล่นที่ดีที่สุดของลูก คืออะไร  คำตอบคือ  คุณพ่อคุณแม่นั่นเอง !!! สิ่งสำคัญการเล่นของลูกนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ร่วมเล่นกับลูกด้วย  การได้พูดคุย  ซักถาม  โอบกอด  ยิ้มให้กัน  จะสร้างความสุขให้แก่ลูกได้อย่างมาก   อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่เองก็จะได้เห็นพัฒนาการของเจ้าตัวน้อย  สอนและชี้ชวนให้ลูกคิดและทำ  ฝึกฝนความมั่นใจ  แต่อย่าลืมนะคะหากลูกทำสำเร็จ  เช่น  สร้างบ้านด้วยตัวต่อ  ระบายสีรูปจนเสร็จ   คุณพ่อคุณแม่ต้องชมเชยลูกทันทีที่ลูกทำสำเร็จนะคะ  เพราะจะเป็นกำลังใจและสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ลูก ถือเป็นการปูพื้นฐานทักษะการคิดและความมั่นใจในตนเองให้ลูกต่อไปค่ะ

ขอบคุณ
ที่มา :theasianparent  thailand

 ของเล่นเด็ก

การเลือกของเล่นให้กับเด็ก

    การเลือกของเล่นให้กับเด็ก

          ของเล่นนั้นมีความสำคัญในการพัฒนาในหลายด้านอย่างเช่นอารมณ์  สติปัญญาของเด็ก  รวมถึงด้านร่างกายด้วย  หากได้รับของเล่นที่มีความเหมาะสมจะทำให้เกิดทักษะและพัฒนาการในทางที่ดีและรวดเร็ว  ดังนั้นแล้วของเล่นจึงมีความสำคัญ  และในปัจจุบันเองของเล่นมีมากมายให้ เราได้เลือกสำหรับเด็ก  เป็นสินค้าที่มีความล้อตาล้อใจให้กับเด็กที่ต้องอ้อนให้ซื้อ  ในบางครั้งของเล่นที่เอาไปนั้นอาจจะเป็นอันตรายและไม่มีประโยชน์สำหรับเด็กก็มีมาก  ของเล่นที่มีประโยชน์และดีไม่จำเป็นราคาต้องแพง  หรือแม้กระทั่งทำเองโดยหาวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาทำก็เสริมพัฒนาการให้กับเด็กได้

           นอกจากนั้นแล้ว การที่จะเลือกของเล่นให้กับเด็กๆนั้นหากพบว่าของเล่นที่ไม่มีประโยชน์ควรที่จะชี้แจ้งให้เด็กทราบถึงเหตุผลที่ไม่ควรเล่นของเล่นเหล่านั้น เนื่องจากบ้านเราเองมีของเล่นที่มากมายก็จริงแต่ว่าไม่ได้มีมาตรฐานในการรองรับในด้านความปลอดภัย  ทำให้ของเล่นที่ได้มานั้นมีสารพิษและเป็นอันตรายไม่มีความแข็งแรง  ทั้งวัสดุที่ใช้มีความคม  แหลม  เป็นอันตรายทำให้เด็กบาดเจ็บอีกด้วย  นอกจากนั้นความเหมาะสมในการเลือกซื้อ  ต้องซื้อโดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางเป็นสำคัญ  ไม่ใช้ผู้ปกครองเป็นสำคัญ  ทั้งในเรื่องเพศ  อายุ  และความสนใจของเด็ก  และอีกอย่างหนึ่งคือการเลือกของเล่นที่ให้การศึกษามากไปก็จะไม่ดีควรที่จะเป็นของเล่นที่มีความบันทิงไปด้วย

   หลักในการเลือกซื้อของเล่นให้เหมาะสม
การเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัยนั้นจะช่วยให้มีพัฒนาที่เหมาะสม  ไม่ว่าจะช่วยในเรื่องของจิตนาการ  การประติสัมพันธ์กับคนในครอบครัวที่สามารถเล่นด้วยกันได้  ของเล่นนอกจากเห็นด้วยตาแล้วต้องสามารถสัมผัสได้  โดยการในแต่ละวัยควรเลือกให้เหมาะสมดังนี้
  1.ของเล่นเด็กเล็ก จะเป็นเด็กที่ยังเดินไม่แข็งแรง  ไปจนถึงก่อนอนุบาล  ก่อนอื่นเด็กในวัยนี้มักเอาของเล่นหยิบเข้าปาก  จับมาอมเล่นบ้าง ของเล่นจึงต้องมีความสะอาดและไม่มีความแหลมคม  มีความปลอดภัยให้มากที่สุด  ของเล่นในวัยนี้ควรมีความหลากหลาย  ไม่ซ้ำกันบ่อย  เพื่อให้เด็กมีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์  ถ้าเด็กโตขึ้นมาหน่อยควรที่จะอ่านหนังสือให้ฟังบ่อยๆ  สมุดภาพและเล่ารายละเอียดของภาพเป็นเรื่องๆ  หรือการให้ดินสอเพื่อวาดเขียน
  2.ของเล่นเด็กชายเล็ก สำหรับของเด็กชายจะต้องเน้นของเล่นที่มีเอกลักษณ์ของชาย ไม่ว่าจะเป็นรถของเล่น  เครื่องบิน  หุ่นยนต์  เด็กวัยนี้เดินได้ดีและวิ่งได้แล้วจึงเป็นของเล่นที่สามารถให้เด็กวิ่งไล่ตาม  อย่างเช่นรถที่วิ่งด้วยถ่าน
  3.ของเล่นเด็กหญิงเล็ก จะแสดงถึงความอ่อนโยน  อย่างเช่น  ตุ๊กตา  ดินสอภาพวาด  อุปกรณ์แต่งตัว  หรืออุปกรณ์ต่างๆที่เด็กชอบ
  4.ของเล่นเด็กโต สำหรับเด็กโต  ควรจะเป็นของเล่นที่สามารถเล่นได้เสมือนจริง  อย่างเช่นรถนั่ง  จักรยาน  การแตะบอล  การอ่านหนังสือเพื่อให้เด็กสามารถรักการอ่านได้เมื่อตอนโต  เด็กโตนั้นเริ่มที่จะสนใจอะไรเป็นพิเศษหลายอย่างที่มีความสนใจเป็นของตัวเอง อาจจะต้องให้ของเล่นที่เขาต้องการตามที่สนใจ  บางคนชอบรถบังคับ  บางคนชอบเครื่องมือช่าง  ดินน้ำมัน  การตกแต่งเสื้อผ้า  อุปกรณ์สำหรับแพทย์ที่เป็นของเล่นเป็นต้น

  ข้อสำคัญในการพิจารณาในการเลือกของเล่น
  1.ความปลอดภัย ความปลอดภัยควรเป็นอันดับแรกในการซื้อ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสะอาด  ความแข็งแรง  สารพิษที่สามารถเจือปนในของเล่นเด็ก  ความแหลมคม  จะทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บและเป็นอันตราย
  2.ของเล่นที่เป็นพิษ พิษที่ว่ามักจะได้จากสีของเล่นที่ไม่ได้รับมาตรฐานแต่สำหรับคนทั่วไปนั้นไม่สามารถตรวจสอบได้เล่น  อย่างเช่น  สารตะกั่ว  สังกะสี  โลหะหนัก  ควรเลือกใช้ของเล่นจากผู้ผลิตที่ได้รับการเชื่อถือ
  3.ความสะอาด ความสะอาดไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยากง่ายในการดูแลความสะอาด  และมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ
  4.เล่นได้ทั้งครอบครัว ต้องเป็นของเล่นที่สร้างความสัมพันธ์ให้กับเด็กโดยเล่นได้ทั้งครอบครัว  ในขณะเล่นจะอธิบายเพื่อเป็นการฝึกให้เด็กคิดและจิตนาการไปด้วยได้
  5.เป็นของเล่นที่สนใจ เป็นของเล่นที่เด็กนั้นมีความสนใจ
  6.มีความเหมาะสม ทั้งเพศและวัยของเด็ก

ขอบคุณ
ที่มา :krabork. com