วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

ยาลดไขั

ยาลดไขั

ถาม: ยาลดไข้มีหลายชนิด จะเลือกใช้อย่างไรดี
ตอบ: ยาลดไข้ที่มีใช้กันนั้นมีตัวยาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
     พาราเซตามอล ซึ่งถือเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง และมีฤทธ์ในการลดไข้ได้ดี จึงเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่ถ้าใช้เกินขนาดมากก็จะเกิดอันตรายต่อตับได้
     แอสไพลิน เดิมใช้กันมาก แต่ปัจจุบันนี้ใช้กันน้อยลง เนื่องจากมีข้อจำกัดในการใช้ในโรคบางอย่างเช่น ไข้เลือดออก,ไข้หวัดใหญ่, อีสุกอีใส เนื่องจากแอสไพลินมีผลทำให้เกร็ดเลือดแข็งตัวช้าทำให้มีเลือดออกง่าย, อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และ พบว่าแอสไพลินนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดไรน์ซินโดรม (Reye’s Syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มีอันตรายและอัตราตายสูง จากภาวะสมองบวม และตับ,ไตวาย
    ไอบลูโปรเฟน เป็นยาที่เริ่มมีความนิยมใช้กันมากขึ้น เนื่องจากมีฤทธ์ในการลดไข้ได้ดีและไม่ปรากฏรายงานการเกิดไรน์ซินโดรมเหมือนอย่างแอสไพลิน และไม่มีผลต่อตับมากนัก แต่มีข้อควรระวังในเรื่องการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และ อาจมีผลต่อการทำงานของไตในกรณีที่เด็กมีภาวะขาดน้ำค่อนข้างมาก ทำให้เกิดไตวายแบบเฉียบพลันได้
    ดังนั้นการใช้ยาลดไข้จึงควรจะรู้ถึง ขนาดของยาที่ใช้กับลูก ซึ่งจะคำนวณตามน้ำหนักตัว, ระยะเวลาห่างที่จะให้ยาซ้ำได้, และคอยดูแลให้ลูกได้ดื่มน้ำได้เพียงพอ ไม่มีปัญหาเรื่องขาดน้ำ
    ยาลดไข้ยังมีรูปแบบการให้ได้หลายวิธี คือ แบบรับประทานซึ่งได้กล่าวไปแล้ว, แบบเหน็บก้น ซึ่งมีความสะดวกในกรณีที่เด็กทานยายากหรือมีอาเจียนมาก ในบ้านเราก็จะมียาเหน็บก้นชนิดที่เป็นยาแอสไพลิน ซึ่งจะมีผลในการลดไข้และผลข้างเคียงต่างๆเหมือนกับชนิดรับประทานเช่นกัน แต่ในต่างประเทศจะมียาเหน็บพาราเซตามอลให้เลือกใช้ได้
    สำหรับยาลดไข้ชนิดฉีดเข้ากล้ามนั้นไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก เพราะจะมีอันตรายได้หลายอย่าง ทางกุมารแพทย์ทั่วไปจึงไม่ได้ใช้กัน

ถาม: ทำไมข้างขวดยาลดไข้จึงเขียนบอกไว้ว่า ห้ามใช้ติดต่อกันเกิน 5 วัน
ตอบ: เป็นคำเตือนทั่วไปที่ติดไว้ข้างขวดยาโดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้ที่ใช้ยาได้พิจารณาไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย และรักษาที่ถูกต้อง แต่ถ้าได้พบแพทย์แล้ว และทราบในการวินิจฉัยโรคและกำลังให้การรักษาที่ถูกต้องอยู่แล้ว การทานยาลดไข้ตามขนาดยาที่แพทย์แนะนำเกิน 5 วันก็ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด

   แต่ถึงอย่างไรก็ตามถ้าลูกยังมีไข้สูงนานหลายวัน ก็ควรจะพาลูกไปพบแพทย์อีกครั้งเพื่อตรวจหาสาเหตุของไข้อย่างละเอียด เพราะมีการติดเชื้อหลายชนิดที่อาจไม่มีอาการจำเพาะ ที่จะแสดงออกให้เห็นชัดเจนในช่วงวันแรกๆของการเจ็บป่วย เช่น ไข้เลือดออก แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายวันขึ้น ก็จะเริ่มมีอาการต่างๆของไข้เลือดออกชัดเจนขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงของผลเลือด ทำให้แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกได้ก่อนที่จะเกิดอันตรายแทรกซ้อนจากไข้เลือดออก หรือ ไข้อาจเกิดจากการติดเชื้ออย่างอื่น เช่น ทัยฟอยด์, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ,ปอดบวม ฯลฯ จึงจำเป็นที่จะไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง

ขอบคุณ ที่มา:
นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์
คลินิกเด็ก.คอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น